วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

กีฬาสานสัมพันธ์ตำบลหนองบัว

กีฬาสานสัมพันธ์ตำบลหนองบัว

                    ตำบลหนองบัว  อำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร  49140   ทุกๆ ปี ตำบลหนองบัว จะจัดการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์ระหว่างหมู่บ้าน  8 หมู่บ้านภายในตำบล  หรือ ที่ชาวตำบลหนองบัวเรียกว่า  กีฬาพ่อบ้าน แม่บ้าน   ระหว่างวันที่  28-31 ธันวาคม ของทุกปี โดยนักกีฬาต้องมีอายุตั้งแต่  30 ปีขึ้นไป  โดยมีหมู่บ้านที่เข้าร่วมการแข่งขันดังนี้

1.บ้านหนองบัว  หมู่ที่ 1
2.บ้านหนองหนาว  หมู่ที่ 2
3.บ้านน้ำบ่อดง  หมู่ที่ 3
4.บ้านเหล่าดง  หมู่ที่ี 4
5.บ้านเหล่าเหนือ  หมู่ที่  5
6.บ้านหนองบัวน้อย  หมู่ที่ 6
7.บ้านโนนสะอาด  หมู่ที่ 7
8.บ้านหนองหนาวงาม  หมู่ที่ 8

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน ดังนี้
1.ฟุตบอล
2.วอลเลย์บอล
3.ตะกร้อ
4.เปตอง
กีฬาพื้นบ้าน
1.วิ่งกระสอบ
2.กระโดดเชือก
3.ชักเย่อ
4.เป่าแป้ง
5.วิ่งสามขา  
6.วิ่งลูกโป่ง


ขบวนพาเหรดบ้านหนองบัว หมู่ที่ 1

ขบวนพาเหรดบ้านน้ำบ่อดง หมู่ที่ 3

ขบวนพาเหรดบ้านหนองบัวน้อย หมู่ที่ 6

ขบวนพาเหรดบ้านหนองหนาวงาม หมู่ที่ 8

กีฬาวอลเลย์บอล

กีฬาตะกร้อ

กีฬาโยนลูกโป่ง

กีฬากระโดดเชือก




การทำไม้กวาดทางมะพร้าว

การทำไม้กวาดทางมะพร้าว

              คุณยายลอย  วงศ์กระโซ่  บ้านหนองบัว  ต.หนองบัว  อ.ดงหลวง  จ.มุกดาหาร   49140
คุณยายทำไม้กวาดทางมะพร้าวขายเป็นอาชีพเสริม หลังจากฤดูทำนาเสร็จสิ้น  ในราคาอันละ  30  บาท

วัสดุและอุปกณ์  

1. ก้านมะพร้าวด้ามไม้ไผ่  หรือไม้รวก  หรือไม้เนื้อแข็ง  

2.เชือกถัก  
3.ค้อน  ตะปู  ลวด  ตะไบ  คีม  ขอนไม้  สีน้ำมัน  สีน้ำหรือยาชันไม้  
4.สำหรับการเลือกก้านมะพร้าว ควรใช้ก้านมะพร้าวสวนหรือมะพร้าวทะเล  ไม่นิยมใช้ก้านมะพร้าวน้ำหอมเพราะก้านแกนสั้น ไม่เหมาะแก่การทำไม้กวาดทางมะพร้าว


การเลือกก้านมะพร้าว
           การเลือกก้านมะพร้าวที่จะนำมาทำไม้กวาดทางมะพร้าว  ควรเป็นมะพร้าวสวน  หรือมะพร้าวทะเล  เพราะก้านยาว  เหนียว  คงทนต่อการกวาด  ถู  มะพร้าวที่จะนำมาทำไม้กวาดทางมะพร้าวต้องเป็นมะพร้าวก้านสูง  ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
          มีสองขนาด ทำจากก้านมะพร้าว ด้ามไม้ไผ่ใหญ่กับเล็ก ถักด้วยเชือกพลาสติก และผูกด้วยลวดผูกเหล็กทาเหล็กกันสนิมด้วยยางมะตอย ตัดปลายและไม่ตัดปลายมีสองขนาด ทำจากก้านมะพร้าว ด้ามไม้ไผ่ใหญ่กับเล็ก ถักด้วยเชือกพลาสติก และผูกด้วยลวดผูกเหล็กทาเหล็กกันสนิมด้วยยางมะตอย ตัดปลายและไม่ตัดปลาย
การตกแต่งและปรับปรุงไม้กวาดทางมะพร้าว

การตกแต่งและปรับปรุงไม้กวาดทางมะพร้าว


วิธีการทำ

  1.  นำก้านมะพร้าวมาเหลาเอาใบออก  ผึ่งแดดไว้  2  วัน

   2.  นำก้านมะพร้าวที่แห้งดีแล้วมามัดเป็นกำๆละ  30  อัน  จำนวน  12  มัด
   3.  นำมาถักเรียงกันเป็นรูปเฝือก  มัดด้วยเชือกถักมาประกอบกับด้ามไม้ที่เตรียมไว้  มัดด้วย  ลวดตอกตะปูให้แน่นกันเลื่อนขึ้น-ลง ของไม้กวาด
   4.  แบ่งถักด้วยเชือกถักเป็น  24  กำ  (จากเดิม  12  กำ)  ดึงให้แน่น
   5.  แซมด้วยก้านมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อให้ไม้กวาดแน่นหนาขึ้น            
                               
ประโยชน์     ใช้ทำความสะอาด












การจักสานตะกร้าไม่ไผ่

การจักสานตะกร้าไม้ไผ่

          คุณลุงเพ็ง  ประทุมลี  บ้านเลขที่  41 บ้านโนนสะอาด  ต.หนองบัว  อ.ดงหลวง  จ.มุกดาหาร  49140
สานตะกร้าไม้ไผ่ขายเป็นรายได้เสริม ยามว่างจากการทำสวน  ขายให้กับคนในชุมชน  อันละ  40-80  บาท ค่ะ

เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่สำคัญ

          ไม้ไผ่สีสุก (ไม้ไผ่บ้าน)หรือไม้ไผ่รวกลวด ไม้ตะโกใช้ทำงวง (โดยเหลาไม้ตะโกและใช้เชือกผูกปลายทั้ง 2 ข้าง เพื่อดัดให้โค้ง แล้วทิ้งไว้หลาย ๆ วันเพื่อให้ไม้อยู่ตัว)
         

วิธีทำ

การทำก้นและตัวตะกร้า
          
1.การเตรียมไม้โดยเหลาไม้ไผ่เพื่อใช้ทำส่วนที่เป็นก้นตะกร้า และโครงตะกร้า (เรียกว่า "ตอกแบน") โดยใช้ไม้ไผ่ลำที่แก่พอประมาณ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าลำพอมีน้อง เลือกเอาลำใหญ่ ๆ ซึ่งจะเหลาเอาเฉพาะผิวไม้ไผ่ซึ่งจะทำให้ตะกร้ามีความแข็งแรงและคงทน การสานจะสานจากก้นตะกร้าก่อนเนื่องจากเป็นโครงหลักโดยการสอดไม้ขัดกันไปมา ตอกที่ใช้ในการก้นตะกร้าจะใช้ประมาณ 20 เส้นขึ้นไปหรือแล้วแต่ขนาดของตะกร้า 

          2. ยกขัดเป็นลาย 2 (ขัด 2 ยก 2) ให้ไม้ไขว้ก้นตะกร้า 2อัน เพื่อป้องกันก้นทะลุเวลาใส่ของหนัก
          3. เหลาตอกเส้นเล็กประมาณ 2มิลลิเ้มตรวนขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นโครงรูปตะกร้า ความสูงตามที่ต้องการ
          การทำปากตะกร้า          ใช้ไม้ไผ่เส้นเล็กกลมสานตัดกันพันหักมุมเพื่อเม้มปาก
          การทำงวงตะกร้า          เมื่อสานตัวตะกร้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำไม้ตะโกที่มีขนาดพอเหมาะมาดัดให้โค้ง โดยนำลวดเจาะระหว่างปลายงวงสอดไปใต้ก้นตะกร้าเพื่อป้องกันงวงหลุดเวลาใส่ของหนัก ๆ
         การทำไม้คอนหาบ           นำลำไผ่บริเวณโคนต้น (หรือชาวบ้านเรียกว่าซอ) มาเหลาทำหัวโมะเพื่อไม่ให้งวงรูดเวลาหาบ ความยาวประมาณ 1.5 เมตร
         เคล็ดลับ          เมื่อสานเสร็จแล้วให้ใช้แกลบเผาไฟแล้ว นำตะกร้าไปรมควันจะทำให้มอดไม่มาเจาะตะกร้า


ช่วงระยะเวลาที่ทำ   

ช่วงระยะเวลาที่ทำ          ช่วงที่ว่างจากงานประจำ สำหรับตะกร้า 1 ใบ ใช้เวลาในการสานประมาณ 2 วัน (โดยที่เตรียมอุปกรณ์ไว้พร้อมแล้ว)





1.เริ่มจากการจักตอกค่ะ


2.ก่อก้น และเริ่มสาน

3.สานตัวตะกร้าจนเสร็จ

4.เริ่มขัดตอกไม่ไผ้ให้เป็นขอบตะกร้า


5.ตัดส่วนที่เหลือออก


6.ใส่ขอบไม้ อาจเป็นขอบที่ทำจากหวายก็ได้



7.เสร็จแล้วค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

การสานข้องใส่ปลา


ข้อง  เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง สานด้วยผิวไม้ไผ่ ปากแคบอย่างคอหม้อ มีฝาปิดเปิดได้ เรียกว่า ฝาข้อง ฝาข้องมีชนิดที่ทำด้วยกะลามะพร้าว และใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปกรวย ปลายกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไว้เรียกว่า งาแซง ข้องใช้สำหรับใส่ ปลาปู กุ้ง หอย กบ เขียด

การใช้งาน ใช้ใส่ปลา กุ้ง หอย ทุกชนิด ใช้ในเวลาที่ออกหาปลา โดยผูกข้องไว้ที่เอว ถ้าจับปลาที่มีขนาดใหญ่นิยมใช้ข้องเป็ด เพราะปลาไม่ต้องงอตัวอยู่ในข้อง ปลาจะนอนตามความยาวของตัวข้อง จะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นาน ถ้าขังปลาด้วยข้องเป็ดแล้วนำไปแช่น้ำที่ไหล ยิ่งจะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้หลายวัน

อุปกรณ์ในการสานตะข้อง
1.ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้น เเละเหลาเป็นเส้นบางๆตามความยาวที่ต้องการ
2.มีดสำหรับเหลา 1 อัน ต้องเป็นมีดที่คม
3.เศษผ้าสำหรับพันที่นิ้วชี้ ใช้งานเมื่อเหลาไม้ไผ่ป้องกันการบาดมือ
4.ท่อนไม้ที่เหลาเป็นทรงกลม สำหรับทำเเบบขนาดของปากตะข้อง

วิธีการทำ
1.นำไม้ไผ่ที่เป็นลำมามาผ่า เเล้วจักให้เป็นเส้นๆ เสร็จเเล้วเหลาให้เป็นเส้นบางๆ จะใช้เฉพาะที่ผิวเปลือกนอกในการสานตะข้อง เพราะจะมีความทนทาน กว่าการใช้ใส้ข้างใน
2.ในการเหลาจะเหลาไว้หลายขนาด ถ้านำมาสานที่ตัวข้องจะใช้เส้นที่ยาวเเละเเบน ถ้านำมาทำที่ปากข้องจะใช้เส้นเล็กเเละกลม เพื่อความเเน่นหนา เเละคงทน
3.ทำการสานโดยสานตั้งเเต่ฐานของตะข้องขึ้นมาก่อน โดยสานเป็นการสลับ1 เว้น1



         คุณตาเลียง ประทุมลี  บ้านเลขที่ 29 บ้านโนนสะอาด ตำบลหนองบัว 
อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ เช่น ข้อง กระติบข้าว   เป็นอาชีพเสริมที่ว่างจากการทำไร่ ทำสวน ขายให้กับคนในหมู่บ้าน



เริ่มต้นด้วยการจักตอก  


เริ่มการสาน



ข้องใส่ปลา







การทำกระติบข้าว


การทำกระติบข้าว


ของชาวอีสาน เพื่อประโยชน์ใช้ส่อยต่าง ๆ มากมายแต่ส่วนใหญ่จะเอาไว้ใส่ ข้าวเหนียว หรือ เอาไว้ประดับ  ของซำร่วย กล่องอเนคประสงค์ และอีกมากมาย
     ที่บ้านโนนสะอาด ต.หนองบัว อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร  ก็มีคุณตาเลียง  ประทุมลี   ที่ทำกระติบข้าวขายเป็นรายได้เสริม เวลาคุณตาว่างจากงานไร่ งานสวน  เอ้าไว้ขายให้กับคนในหมู่บ้าน
วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1.ไม้ไผ่บ้าน
2.ด้ายไนล่อน
3.เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
4.กรรไกร
5.มีดโต้
6.เลื่อย
7.เหล็กหมาด(เหล็กแหลม)
8.ก้านตาล
9.เครื่องขูดตาล




เริ่มต้นด้วยการจักตอก




เริ่มก่อตัวกระติบข้าว หรือ ฝาปิดกระติบข้าว










ฝาปิดกระติบข้าว




ประกอบเข้ากับตัว  แต่ยังไม่ติดก้นกระติบข้าว




ติดขากระติบข้าวเรียบร้อย    เสร็จเรียบร้อยแล้ว




ใส่ข้าวเหนียว




วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

การทำบุญแจกข้าว


 การทำบุญแจกข้าว     

  ชนชาวอีสานถือเรื่องความกตัญญูต่อญาติพี่น้องและผู้มีพระคุณ การจัดงานทำบุญแจกข้าวจึงเป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้ที่เสียชีวิตไป เพื่อให้ดวงวิญญาณของคนเหล่านั้นได้รับบุญกุศลและไปเกิดใหม่ไม่ต้องวนเวียนเพื่อรอรับส่วนบุญอีกต่อไป


               การทำบุญแจกข้าวของชนเผ่าภูไท  บ.โนนสะอาด  ต.หนองบัว  อ.ดงหลวง  จ.มุกดาหาร  การทำบุญแจกข้าว ให้กับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว  ชาวชาวอีสาน เชื่่อว่าถ้าตายไปแล้วญาติไม่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ก็จะมีแต่ความอดอยากทนทุกข์ทรมานและไม่ได้ไปผุดไปเกิด ด้วยความเชื่อดังกล่าวนี้จึงทำให้มีการจัดงานหรือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่เสียชีวิต หรือเรียกว่า การทำบุญแจกข้าว ดังนั้นเมื่องานฌาปาณกิจเสร็จ เราก็ต้องทำบุญแจกข้าวให้กับผู้ตาย  โดยมีการเตรียมงานคือ  ต้องมีกองบุญ และ ทำข้าวมัด เพื่อแจกให้ชาวบ้านที่มาทำบุญ  และ  ช่วยงาน



                             ชาวบ้านที่มาร่วมทำบุญค่ะ...ชาวบ้านก็จะนำข้าวสารพร้อมดอกไม้หนึ่งคู่          พร้อมเงิน แล้วแต่ศรัทธานำมาทำบุญค่ะ...



                นี้คือกองบุญค่ะ ที่ผู้เฒ่า ผู้แก่ มาช่วยกันทำค่ะ หาของต่าง ๆ                                       มาใส่  เช่น หมอน ผ้าห่ม มุ้ง และอีกมากมายค่ะ



พอตอนเย็นพระก็มาเทศน์


                                           
                            ตอนเย็นก็พากันมานอน เฝ้ากองบุญ  ภาษาภูไท เรียก (นอนงันกองบุญ)  คือ ถ้ามีมหรสพ ก็มานอนดูกัน




สิ่งของที่ใช้ใส่บาตรในวันรุ่งขึ้นค่ะ



ใส่บาตรทำบุญในวันรุ่งขึ้น





                   ใส่บาตรเสร็จ ลูก หลาน และญาติพี่น้องของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ร่วมกันถวายกองบุญ แด่ พระสงฆ์  เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ตาย